รับเขียนโปรแกรม รับทำโปรเจค เว็บไซต์ ด้วยภาษา java, c,c++,c#.php งาน Hardware

– รับเขียนโปรมแกรม C

– รับเขียนโปรแกรม C++

– รับทำโปรเจค นักศึกษา

– รับเขียนโปรแกรม Java

– รับเขียนโปรแกรม PHP

– รับเขียนโปรแกรม C#

– รับเขียนโปรแกรม งานไฟฟ้า งาน Hardware ไมรโครคอลโทรเลอร์

บริการเขียนงานคุณภาพด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ กว่า 15 ปี รับประกันงาน ราคาประหยัด
ส่งงานตรงเวลา เชื่อถือ และ ตรวจสอบได้ชัดเจน คลิกชมเพิ่มที่ http://www.crksolution.com

หมายเหตุ : กรุณาอ่านรายละเอียด ให้ชัดเจน และติดต่อที่คุณรุ่งนภา ตามเบอร์ด้านล่างนี้เท่านั้นนะค่ะ

สนใจติดต่อคุณรุ่งนภา โทร 086-5640541

หรือ E-mail : rungnapa.ktv@gmail.com

http://www.crksolution.com

ประวัติและวิวัฒนาการของภาษา C
ภาษาซีเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1972 โดย Dennis Ritchie แห่ง Bell Labs โดยภาษาซีนั้นพัฒนามาจาก ภาษา B และจากภาษา BCPL ซึ่งในช่วงแรกนั้นภาษาซีถูกออกแบบให้ใช้เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมในระบบ UNIX และเริ่มมีคนสนใจมากขึ้นในปี ค.ศ.1978 เมื่อ Brain Kernighan ร่วมกับ Dennis Ritchie พัฒนามาตรฐานของภาษาซีขึ้นมา คือ K&R (Kernighan & Ritchie) และทั้งสองยังได้แต่งหนังสือชื่อว่า “The C Programming Language” โดยภาษาซีนั้นสามารถจะปรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆได้ ต่อมาในช่วง ปี ค.ศ.1988 Ritchie และ Kernighan ได้ร่วมกับ ANSI (American National Standards Institute) สร้างเป็นมาตรฐานของภาษาซีขึ้นมาใหม่มีชื่อว่า “ANSI C”
ภาษาซีนั้นจัดเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่นิยมใช้งาน ซึ่งภาษาซีจัดเป็นภาษาระดับกลาง (Middle-Level Language) เหมาะกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) โดยมีคุณสมบัติโดดเด่นอย่างหนึ่งคือ มีความยืดหยุ่นมาก กล่าวคือ สามารถทำงานกับเครื่องมือต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนการเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่างๆได้ เช่น สามารถเขียนโปรแกรมที่มีความยาวหลายบรรทัดให้เหลือความยาว 2-3 บรรทัดได้ โดยมีการผลการทำงานที่เหมือนเดิมครับ
เหตุผลที่ควรเรียนภาษาซี
ก็เนื่องจากภาษาซีเป็นภาษาแบบโครงสร้างที่สามารถศึกษาและทำความเข้าใจได้ไม่ยาก อีกทั้งยังสามารถเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้อีก เช่น C++, Perl, JAVA เป็นต้น
ลักษณะโปรแกรมแบบโครงสร้าง
การเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) ก็คือ การนำโครงสร้างของคำสั่งหลายๆ รูปแบบ นำมาใช้ในโปรแกรม โดยจะมีการใช้คำสั่งลักษณะ goto ให้น้อยที่สุด ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง ก็มี ภาษา C, Pascal และ Cobol เป็นต้นครับ ผมจะยกตัวอย่างในภาษา C ในรูปแบบการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างให้ดูดังด้านล่างนะครับ

ภาพ: โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีแบบง่ายๆ แสดงถึงโครงสร้าง
จากโปรแกรมข้างต้นนะครับ สามารถแบ่งโครงสร้างตามลักษณะหน้าที่การทำงานได้ 3 ส่วนหลักๆ นะครับ ก็คือ
ส่วนที่ 1 ประกาศค่าตัวแปร และ การกำหนดค่าให้กับตัวแปร (Declare)
ส่วนที่ 2 เพิ่มค่า และเก็บค่าไว้ในตัวแปร (Calculation)
ส่วนที่ 3 แสดงผลทางจอภาพ (Display)
ซึ่งการทำงานของโปรแกรมแบบโครงสร้างนั้นสามารถเข้าใจได้ง่ายและสามารถแก้ไขได้สะดวกครับ
จุดเด่นของภาษาซี
ในปัจจุบันภาษาซีนั้น ได้รับการยอมรับและใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจาก
เหตุผลดังต่อไปนี้
1. ภาษาซีนั้นเป็นภาษาที่มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรุ่น ทำให้
โครงสร้าง ทางภาษา ฟังก์ชั่นและไลบรารีต่าง ๆ สามารถนำไปใช้งานระหว่างเครื่อง แต่ละรุ่นและ
ระบบ ปฏิบัติการแต่ละชนิดได้
2. ปัจจุบันนี้มีการพัฒนาตัวแปลทางภาษาซีขั้นมา สำหรับใช้กับเครื่องทุกเครื่อง และระบบ
ปฏิบัติการทุกชนิด ดังนั้นไม่ว่าเราจะใช้เครื่องรุ่นใด และระบบปฏิบัติการชนิดใดก็ตาม ก็สามารถเขียน
โปรแกรมภาษาซีได้
3. โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซี มีขนาดเล็กและทำงานได้เร็ว
4. ภาษาซีมีโครงสร้างทางภาษาที่ดี และเครื่องหมายสำหรับดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการ
คำนวณ ทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ หรือการเปรียบเทียบมีประสิทธิภาพการทำงานสูง
5. สามารถเขียนคำสั่งภาษาซี เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บางส่วน
6. มีฟังก์ชั่นสำเร็จรูปสำหรับงานประเภทต่างๆ ให้เลือกใช้มากมาย ซึ่งช่วยประหยัดเวลา
ในการเขียนคำสั่ง
ข้อเสียของภาษา C
คือมีรูปแบบของไวยกรณ์ (SYNTAX) ที่หลากหลายทำให้เกิดความสับสนและยุ่งยากแก่การจดจำ
ตัวอย่าง Source Code ของภาษา C การบวกเลขตั้งแต่ 1 ถึง 100
#include
main()
{
int i,ans;
ans=0;
for(i=1;i<=100;i++){
ans=ans+i;
}
printf("answer is %d",ans);
}

จุดเด่นของภาษาซี

Posted: มีนาคม 7, 2013 in Uncategorized

จุดเด่นของภาษาซี
1. เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างจึงเขียนโปรแกรมง่าย โปรแกรมที่เขียนขึ้นจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง สั่งงานคอมพิวเตอร์ได้รวดเร็วกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ
2. สั่งงานอุปกรณ์ในระบบคอมพิวเตอร์ได้เกือบทุกส่วนของฮาร์ดแวร์ซึ่งภาษาระดับสูงภาษาอื่นทำงานดังกล่าวได้น้อยกว่า

3. คอมไพเลอร์ภาษาซีทุกโปรแกรมในท้องตลาดจะทำงานอ้างอิงมาตรฐาน(ANSI= American National Standards Institute) เกือบทั้งหมด จึงทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาซีสามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ทุกรุ่นที่มาตรฐาน ANSI รับรอง

4. โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาซีสามารถนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูต่างเบอร์กันได้ หรือกล่าวได้ว่าโปรแกรมมีความยืดหยุ่น (portabiliy) สูง

5. สามารถนำภาษาซีไปใช้ในการเขียนโปรแกรมประยุกต์ได้หลายระดับเช่น เขียนโปรแกรมจัดระบบงาน (OS) คอมไพเลอร์ของภาษาอื่น โปรแกรมสื่อสารข้อมูลโปรแกรมจัดฐานข้อมูล โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์(AI = Artificial Inteeligent) รวมทั้งโปรแกรมคำนวณงานทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

6. มีโปรแกรมช่วย (tool box) ที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมมาก และราคาไม่แพงหาซื้อได้ง่าย เช่น vitanin c หรืออื่น ๆ

7. สามารถประกาศข้อมูลได้หลายชนิดและหลายรูปแบบ ทำให้สะดวกรวดเร็วต่อการพัฒนาโปรแกรมตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้8. ประยุกต์ใช้ในงานสื่อสารข้อมูล และงานควบคุมที่ต้องการความแม่นยำในเรื่องเวลา (real time application) ได้ดีกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ หลาย ๆ ภาษา9. สามารถเขียนโปรแกรมด้วยเทคนิคแบบโอโอพี (OOP = Object Oriented Programming) ได้หากใช้ภาษาซีรุ่น TURBO C++ ขึ้นไป ทำให้สามารถพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อใช้งานได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ภาษาซี (C Programming Language)

Posted: มีนาคม 7, 2013 in Uncategorized

ภาษาซี (C Programming Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมทั่วไป ถูกพัฒนาครั้งแรกเพื่อใช้เป็นภาษาสำหรับพัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ( Unix Opearating System) แทนภาษาแอสเซมบลี ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สามารถกระทำในระบบฮาร์ดแวร์ได้ด้วยความรวดเร็ว แต่จุดอ่อนของภาษาแอซเซมบลีก็คือความยุ่งยากในการโปรแกรม ความเป็นเฉพาะตัว และความแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง เดนนิส ริตชี (Dennis Ritchie) จึงได้คิดค้นพัฒนาภาษาใหม่นี้ขึ้นมาเมื่อประมาณต้นปี ค.ศ. 1970 โดยการรวบรวมเอาจุดเด่นของแต่ละภาษาระดับสูงผนวกเข้ากับภาษาระดับต่ำ เรียกชื่อว่า ภาษาซี คลิปลับ VDO งานเสริมทำออนไลด์ผ่าน net สร้างรายได้ 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ ดูที่ http://www.888.321.cn

เมื่อภาษาซี ได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีผู้ผลิต compiler ภาษาซีออกมาแข่งขันกันมากมาย ทำให้เริ่มมีการใส่ลูกเล่นต่างๆ เพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ ทาง American National Standard Institute (ANSI) จึงตั้งข้อกำหนดมาตรฐานของภาษาซีขึ้น เรียกว่า ANSI C เพื่อคงมาตรฐานของภาษาไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไป

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี และตัวอย่าง

โปรแกรมในภาษาซีทุกโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ชันอย่างน้อย หนึ่งฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชัน main โดยโปรแกรมภาษาซีจะเริ่มทำงานที่ฟังก์ชัน main ก่อน ในแต่ละฟังก์ชันจะประกอบด้วย

1. Function Heading ประกอบด้วยชื่อฟังก์ชัน และอาจมีรายการของ argument (บางคนเรียก parameter) อยู่ในวงเล็บ

2. Variable Declaration ส่วนประกาศตัวแปร สำหรับภาษาซี ตัวแปรหรือค่าคงที่ทุกตัว ที่ใช้ในโปรแกรมจะต้องมีการประกาศก่อนว่าจะใช้งานอย่างไร จะเก็บค่าในรูปแบบใดเช่น interger หรือ real number

3. Compound Statements ส่วนของประโยคคำสั่งต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นประโยคเชิงซ้อน (compound statement) กับ ประโยคนิพจน์ (expression statment) โดยประโยคเชิงซ้อนจะอยู่ภายในวงเล็บปีกกาคู่หนึ่ง { และ } โดยในหนึ่งประโยคเชิงซ้อน จะมีประโยคนิพจน์ที่แยกจากกันด้วยเครื่องหมาย semicolon (;) หลายๆ ประโยครวมกัน และ อาจมีวงเล็บปีกกาใส่ประโยคเชิงซ้อนย่อยเข้าไปอีกได้

ที่มา
http://www.geocities.com/suwit_0000/index.html
http://nanotech.sc.mahidol.ac.th/c/basic/index.htm

ทีเค ปาร์ค จัดอบรมไอที การสร้างหุ่นยนต์อัตโนมัติขนาดเล็กด้วยโปรแกรมภาษาซี

ต่อไปนี้การสร้างหุ่นยนต์จะเป็นเรื่องง่ายในพริบตา เมื่อ อุทยานการเรียนรู้ (ทีเค ปาร์ค) จัดอบรมคอมพิวเตอร์ในหัวข้อ “การสร้างหุ่นยนต์อัตโนมัติขนาดเล็กด้วยโปรแกรมภาษาซี” ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เหมาะกับน้องๆ อายุ 13 ปีขึ้นไป น้องๆ จะได้ประกอบหุ่นยนต์ Robo11 ด้วยตนเองและเรียนรู้เกี่ยวกับหน่วยประมวลผลที่ใช้ในการควบคุมหุ่นยนต์ (Microcontroller) รวมถึงฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมภาษาซีเพื่อควบคุมการทำงานหุ่นยนต์ ใครสนใจสามารถไปอบรมได้ในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 14-15 ตุลาคม 2549 เวลา 12.00 – 17.00 น. ณ ห้องไอที เทรนนิ่ง อุทยานการเรียนรู้ ชั้น 8 อาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โซน D ค่าลงทะเบียน 4,950 บาท (รวมค่าหุ่นยนต์) ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือลงทะเบียนอบรมได้ที่ โทร. 0-2257-4300!!

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
บริษัทแม็กซิม่า คอลซัลแตนท์ จำกัด โทร 0-2434-8300
คุณสุจินดา, คุณแสงนภา, คุณปิติยา

สสวท. จับมือนักเรียนคอมพิวเตอร์โอลิมปิกสร้างเว็บไซต์ http://www.programming.in.th อบรมเขียนภาษาซี ฟรี !
นางสาวนารี วงศ์สิโรจน์กุล รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แจ้งว่า สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. ขอเชิญผู้สนใจสอบถามและสมัครเข้าร่วมอบรมด้วยตนเองแบบออนไลน์ หลักสูตรการเขียนโปรแกรมภาษาซี ผ่านเว็บไซต์ http://www.programming.in.th เริ่มลงทะเบียนเข้ารับการอบรมได้ตั้งแต่บัดนี้ เนื้อหาบทเรียนการเขียนโปรแกรมภาษาซีในรูปแบบออนไลน์มีการเรียงลำดับบทจากง่ายไปยังยาก ซึ่งผู้เรียนจะไม่สามารถอ่านเนื้อหาหรือทำโจทย์ในบทถัดไปได้ หากว่ายังไม่ผ่านบทก่อนหน้า ทั้งนี้ในแต่ละบท ยังมีโจทย์สำหรับฝึกเขียนโปรแกรม และดูผลลัพธ์ของโปรแกรมผ่านทางหน้าเว็บไซต์ได้ทันที หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. 02 392 4021 ต่อ 3415, 3414, 3406
เว็บไซต์ http://www.programming.in.th จัดทำขึ้นโดยสาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. ร่วมกับนักวิชาการ และนักศึกษาซึ่งเป็นนักเรียนค่ายคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ร่วมกันพัฒนาเว็บไซต์ขึ้น เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทางด้านการเขียนโปรแกรมและสนับสนุนงานด้านวิชาการในการที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ครั้งที่ 23 ในปี พ.ศ. 2554 โดยผู้เรียนสามารถเข้าศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองได้สะดวก
ทุกที่ทุกเวลา โดยเนื้อหาจะเน้นเฉพาะการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี วิธีการแก้ปัญหาซึ่งเป็นโจทย์ปัญหาตั้งแต่ระดับพื้นฐาน จนถึงโจทย์ปัญหาที่ใช้ในการอบรมค่ายคอมพิวเตอร์โอลิมปิก เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศด้านวิชาการ และทำให้การเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์เป็นที่สนใจของเยาวชนและนักวิชาการทั่วๆ ไปซึ่งจะนำไปสุ่การพัฒนาหลักสูตรระบบการเรียนการสอน และการวิจัยที่จะช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการของประเทศต่อไป
หลักสูตรการเขียนโปรแกรมภาษาซี ผ่านเว็บไซต์ http://www.programming.in.th แบ่งหมวดการเรียนรู้ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ Task รวบรวมโจทย์สำหรับการเขียนโปรแกรมภาษาซีที่ลักษณะโจทย์เป็นรูปแบบเดียวกับโจทย์ การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ โดยมีหลากหลายระดับความยากง่าย ให้สมาชิกสามารถเลือกทำ และส่งโค้ดโปรแกรมขึ้นมาผ่านห้าเว็บไซต์ และรอรับผลการตรวจในทันทีว่าจะได้คะแนนเท่าไหร่ Tutorail เนื้อหาบทเรียนการเขียนโปรแกรมภาษาซีในรูปแบบออนไลน์ โดยมีการเรียงลำดับบท จากง่ายไปยังยาก ซึ่งผู้เรียนจะไม่สามารถอ่านเนื้อหาหรือทำโจทย์ในบทถัดไปได้ หากว่ายังไม่ผ่านบทก่อนหน้า
ทั้งนี้ในแต่ละบท ยังมีโจทย์สำหรับฝึกเขียนโปรแกรม และดูผลลัพท์ของโปรแกรมผ่านทางหน้าเว็บไซต์ได้ทันที Challenge พักสมองจากการคิดโจทย์ยาก ๆ ในหมวด Task มาทำโจทย์ประเภทคำถาม-คำตอบ ในหมวดนี้จะมีโจทย์หลากหลายประเภท บางข้ออาจจะตอบได้โดยไม่ต้องค้นหาข้อมูล บางข้ออาจจะสามารถ ตอบได้โดยใช้กูเกิ้ลช่วยหา หรือบางข้ออาจจะต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อหาคำตอบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป
——————————————————————————–
เขียนโปรแกรมไม่ยากอย่างที่คิด สสวท. จับมือนักเรียนคอมพิวเตอร์โอลิมปิกสร้างเว็บไซต์ http://www.programming.in.th อบรมเขียนภาษาซี ฟรี !

นางสาวนารี วงศ์สิโรจน์กุล รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แจ้งว่า สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. ขอเชิญผู้สนใจสอบถามและสมัครเข้าร่วมอบรมด้วยตนเองแบบออนไลน์ หลักสูตรการเขียนโปรแกรมภาษาซี ผ่านเว็บไซต์ http://www.programming.in.th เริ่มลงทะเบียนเข้ารับการอบรมได้ตั้งแต่บัดนี้ เนื้อหาบทเรียนการเขียนโปรแกรมภาษาซีในรูปแบบออนไลน์มีการเรียงลำดับบทจากง่ายไปยังยาก ซึ่งผู้เรียนจะไม่สามารถอ่านเนื้อหาหรือทำโจทย์ในบทถัดไปได้ หากว่ายังไม่ผ่านบทก่อนหน้า ทั้งนี้ในแต่ละบท ยังมีโจทย์สำหรับฝึกเขียนโปรแกรม และดูผลลัพธ์ของโปรแกรมผ่านทางหน้าเว็บไซต์ได้ทันที หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. 02 392 4021 ต่อ 3415, 3414, 3406 เว็บไซต์ http://www.programming.in.th จัดทำขึ้นโดยสาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. ร่วมกับนักวิชาการ และนักศึกษา ซึ่งเป็นนักเรียนค่ายคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ร่วมกันพัฒนาเว็บไซต์ขึ้น เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทางด้านการเขียนโปรแกรมและสนับสนุนงานด้านวิชาการในการที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ครั้งที่ 23 ในปี พ.ศ. 2554 โดยผู้เรียนสามารถเข้าศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา โดยเนื้อหาจะเน้นเฉพาะการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี วิธีการแก้ปัญหาซึ่งเป็นโจทย์ปัญหาตั้งแต่ระดับพื้นฐาน จนถึงโจทย์ปัญหาที่ใช้ในการอบรมค่ายคอมพิวเตอร์โอลิมปิก เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศด้านวิชาการ และทำให้การเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์เป็นที่สนใจของเยาวชนและนักวิชาการทั่วๆ ไปซึ่งจะนำไปสุ่การพัฒนาหลักสูตรระบบการเรียนการสอน และการวิจัยที่จะช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการของประเทศต่อไปหลักสูตรการเขียนโปรแกรมภาษาซี ผ่านเว็บไซต์ http://www.programming.in.th แบ่งหมวดการเรียนรู้ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ Task รวบรวมโจทย์สำหรับการเขียนโปรแกรมภาษาซีที่ลักษณะโจทย์เป็นรูปแบบเดียวกับโจทย์การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ โดยมีหลากหลายระดับความยากง่าย ให้สมาชิกสามารถเลือกทำและส่งโค้ดโปรแกรมขึ้นมาผ่านห้าเว็บไซต์ และรอรับผลการตรวจในทันทีว่าจะได้คะแนนเท่าไหร่ Tutorail เนื้อหาบทเรียนการเขียนโปรแกรมภาษาซีในรูปแบบออนไลน์ โดยมีการเรียงลำดับบทจากง่ายไปยังยาก ซึ่งผู้เรียนจะไม่สามารถอ่านเนื้อหาหรือทำโจทย์ในบทถัดไปได้ หากว่ายังไม่ผ่านบทก่อนหน้า ทั้งนี้ในแต่ละบท ยังมีโจทย์สำหรับฝึกเขียนโปรแกรม และดูผลลัพท์ของโปรแกรมผ่านทางหน้าเว็บไซต์ได้ทันที Challenge พักสมองจากการคิดโจทย์ยาก ๆ ในหมวด Task มาทำโจทย์ประเภทคำถาม-คำตอบ ในหมวดนี้จะมีโจทย์หลากหลายประเภท บางข้ออาจจะตอบได้โดยไม่ต้องค้นหาข้อมูล บางข้ออาจจะสามารถตอบได้โดยใช้กูเกิ้ลช่วยหา หรือบางข้ออาจจะต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อหาคำ

รำลึกถึงเดนนิส ริตชี ผู้ให้กำเนิดภาษาซีและยูนิกซ์
พฤศจิกายน 14th, 2011 ITNews

เมื่อไม่นานมานี้ วงการไอทีต้องพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ถึงสองครั้ง ข่าวแรกซึ่งดังไปทั่วโลกคือ สตีฟ จอบส์แห่งบริษัทแอปเปิลถึงแก่กรรม และหลังจากนั้นไม่กี่วัน ก็มีบุคคลสำคัญอีกผู้หนึ่งในวงการไอทีที่ถึงแก่กรรมคือ เดนนิส ริตชี ซึ่งเป็นผู้พัฒนาภาษาซี และร่วมพัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
หลังจากจบการศึกษาด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ เดนนิสทำงานที่เบลล์ แลบส์ใน บริษัท เอทีแอนด์ที และในช่วงนั้นเองที่เขาได้สร้างผลงานที่มีผลกระทบต่อวงการคอมพิวเตอร์มหาศาล ผลงานที่โด่งดังที่สุดของเดนนิสคือพัฒนาภาษาซี ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่แพร่หลายมากที่สุดภาษาหนึ่งของโลก ปัจจุบัน ภาษาคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ จำนวนมากได้รับแรงบันดาลใจหรือมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับภาษาซี เช่น ภาษาซีพลัสพลัส ภาษาจาวา ภาษาเพิร์ล เป็นต้น

ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้แก่เดนนิสมากที่สุดอีกเรื่องหนึ่งคือเป็นผู้ร่วมพัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ซึ่งปัจจุบันได้แตกหน่อออกลูกออกหลานมากมาย เช่น ลีนุกซ์ บีเอสดี รวมทั้งแอนดรอยด์ในโทรศัพท์มือถือ เราลองมาดูคำพูดต่าง ๆของเดนนิสเกี่ยวกับภาษาซีและยูนิกซ์กันครับ (อ้างอิงจาก en.wikipedia.org และ http://www.icelebz.com/quotes/dennis_ritchie/ )

“ภาษาซีมีพลังของภาษาแอสเซมบลี และความสะดวกสบาย…ของภาษาแอสเซมบลี” ภาษาซีเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกกันว่าภาษาชั้นสูง แต่ภาษาซีสามารถเขียนในระดับที่เข้าถึงฮาร์ดแวร์ได้ใกล้เคียงกับภาษาแอสเซมบลี ซึ่งเป็นภาษาระดับล่าง ทำให้สามารถดึงความสามารถของฮาร์ดแวร์ได้เต็มที่ และทำงานได้เร็ว แต่ก็ทำให้ภาษาซีเป็นภาษาที่เข้าใจยากสำหรับผู้หัดเขียนโปรแกรมครั้งแรก โครงสร้างภาษาซี เช่น พอยต์เตอร์ แอร์เรย์ สตรัคเจอร์ ทำให้โปรแกรมเมอร์มือใหม่หลายคนต้องปวดหัวกับการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือบักในโปรแกรม แต่ถ้าเชี่ยวชาญแล้ว ภาษาซีจะเหมือนกับเวทมนต์วิเศษที่สร้างสรรค์ซอฟต์แวร์มหัศจรรย์ทุกอย่างในโลกครับ

“ยูนิกซ์เรียบง่ายมาก มันต้องอาศัยอัจฉริยะในการเข้าใจความเรียบง่ายนี้” คำพูดนี้ต้องการบอกให้เราทราบว่า เดิมทีเดียว ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เรียบง่ายมาก ในช่วงเริ่มแรก มีการเผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับหรือซอสโค้ดของยูนิกซ์ ทำให้สถาบันการศึกษานิยมใช้ยูนิกซ์เป็นตัวอย่างเพื่อศึกษาการทำงานของระบบปฏิบัติการหรือให้นักศึกษาดัดแปลงการทำงานของยูนิกซ์ จนมีคำพูดเล่น ๆ ว่า เซียนยูนิกซ์ที่ศึกษาซอสโค้ดยูนิกซ์จนช่ำชอง สามารถอ่านซอสโค้ดยูนิกซ์พร้อมกับจิบกาแฟ เหมือนคนทั่วไปอ่านหนังสือพิมพ์ตอนเช้า นอกจากนี้ ยูนิกซ์ยังมีเครื่องมือมากมายให้โปรแกรมเมอร์พัฒนาโปรแกรมได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และระบบยูนิกซ์นี่เอง ที่ทำให้โปรโตคอลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชื่อทีซีพี ไอพีแพร่หลาย ทำให้เกิดอินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบัน

“สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมมีความสุขมากที่สุดคือ แนวคิดเรื่องการทำให้ยูนิกซ์สามารถติดตั้งได้ในเครื่องที่หลากหลายเป็นความคิดของผมเอง” เนื่องจากเดนนิสมีส่วนร่วมทั้งภาษาซีและยูนิกซ์ เขาจึงใช้ภาษาซีเขียนระบบยูนิกซ์เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นบางส่วนที่ต้องใช้ภาษาแอสเซมบลีในการเขียน ดังนั้น ยูนิกซ์จึงนำไปติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์แตกต่างกันได้ โดยไม่ต้องเขียนใหม่ทั้งหมด จุดนี้เองทำให้ยูนิกซ์ได้รับความนิยมจากผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ เพราะแทนที่จะต้องเขียนระบบปฏิบัติการใหม่ทั้งหมด และต้องเขียนซอฟต์แวร์ใหม่บนระบบปฏิบัติการนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้ระบบยูนิกซ์กับฮาร์ดแวร์ตนเองได้เลยโดยดัดแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนยูนิกซ์อยู่แล้วได้เกือบจะทันที นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ยูนิกซ์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ถึงแม้ว่าภาษาซีกับยูนิกซ์ จะดูห่างไกลจากชีวิตประจำวันของคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าคุณใช้อินเทอร์เน็ต ใช้โทรศัพท์มือถือหรือแทบเล็ตที่ใช้แอนดรอยด์ คุณกำลังใช้ผลงานที่พัฒนามาจากความคิดของอัจฉริยะไอทีผู้จากไปท่านนี้แล้วครับ

จาก…เดลินิวส์

Hello world!

Posted: พฤศจิกายน 30, 2012 in Uncategorized

var w3c=(document.getElementById)?true:false;
var ie=(document.all)?true:false;
var N=-1;
var bars=new Array();

function createBar(w,h,bgc,brdW,brdC,blkC,speed,blocks){
if(ie||w3c){
var t=’

‘;
t+=’‘;
for(i=0;i<blocks;i++){
t+='‘;
}
t+=’

‘;
document.write(t);
var bA=(ie)?document.all[‘blocks’+N]:document.getElementById(‘blocks’+N);
bA.blocks=blocks;
bA.w=w;
bA.h=h;
bars[bars.length]=bA;
setInterval(‘startBar(‘+N+’)’,speed);
}}

function startBar(bn){
var t=bars[bn];
t.style.left=((parseInt(t.style.left)+t.h+1-(t.blocks*t.h+t.blocks)>t.w)? -(t.h*2+1) : parseInt(t.style.left)+t.h+1)+’px’;
}

createBar(300,15,’white’,1,’black’,’blue’,85,7);